สำหรับหัวข้อนี้นั้น ก็เป็นผลที่สืบเนื่องมาจาก ในช่วงกลางปีพ.ศ. 2548 มีรายการหนึ่งทางช่อง9 ได้เคยนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการ์ตูน ซึ่งคอสเพลย์ (Cos Play) นั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทางรายการนั้นนำเสนอในวันนั้นด้วย แต่ทว่า การนำเสนอของรายการนั้น กลับนำเสนอเนื้อหาที่สร้างความเข้าใจผิดให้กับผู้ชมรายการส่วนใหญ่ที่อาจไม่ใช่คอการ์ตูน กลายเป็นการเหมารวมว่า กิจกรรมคอสเพลย์นั้นเป็นกิจกรรมที่มอมเมาเยาชน ทำให้เยาวชนกลุ่มดังกล่าวนั้นใจแตก จนทำให้ทางทีมงานของรายการนั้นกับกลุ่มคนรักการ์ตูนต้องออกมาเคลียร์กันในรายการถึงลูกถึงคน และทั้ง2ฝ่ายก็จบลงกันด้วยดี ถึงแม้ว่าประเด็นในเรื่องคอสเพลย์นั้นยังไม่เคลียร์กันซักเท่าไหร่ จนกระทั่งมีรายการหนึ่งทางช่อง5 ก็เชิญกลุ่มนักคอสเพลย์มาไขกระจ่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ และเรื่องก็จบลงได้ด้วยดี โดยที่เข้าใจกันทั้ง2ฝ่าย
เกริ่นมาซะตั้งนาน บางคนอาจจะสงสัยว่า กิจกรรมคอสเพลย์นั้นมันเป็นกิจกรรมอะไร ซึ่งคำนี้ ก็เคยให้คำจำกัดความสั้นๆมาแล้วในหัวข้อ "ศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับวงการการ์ตูน"โดยคำว่าคอสเพลย์นั้น ก็มาจากคำว่า Costume Play เป็น กิจกรรมกล้าแสดงออกประเภทหนึ่ง ที่ให้เราสวมชุด ปลอมตัวเลียนแบบเป็น ตัวละครจากการ์ตูน ภาพยนตร์ และเกมส์ หรือ จะเป็นเหล่าซูเปอร์สตาร์ที่เราชื่นชอบ แต่ส่วนใหญ่มักจะนึกถึงการเลียนแบบตัวการ์ตูนกันซะมากกว่า และปัจจุบันก็ได้รับความนิยมมากของเหล่าวัยรุ่นคอการ์ตูนในบ้านเรา จนถึงขนาดมีการจัดประกวดคอสเพลย์เกิดขึ้นในงานที่เกี่ยวกับการ์ตูนอีกด้วย
เหล่าวัยรุ่นญี่ปุ่นกำลังแต่งคอสเพลย์เลียนแบบ
ตัวละครจากเกมส์ Rival School
www.spacecaptainsteve.com |
จุดเริ่มต้น
จุดเริ่มต้นของกิจกรรมนี้ แน่นอนว่าเริ่มที่ญี่ปุ่น ประมาณช่วงปี 1960 ที่หนังจำพวก อุลตร้าแมนออกมา และมีการผลิตสินค้าเสื้อผ้า รวมถึงชุดอุลตร้าแมนออกมาให้เด็กๆได้ใส่ เมื่องาน คอมิค มาร์เก็ต ซึ่งเป็นงานที่รวมพลคนรักคลั่งไคล้การ์ตูนของชาวญี่ปุ่น เกิดขึ้นในช่วงปี 1970 ก็เลยมีคนแต่งตัวเป็นตัวการ์ตูนเข้าร่วมงานนี้ และมีผลทำให้กิจกรรมคอสเพลย์ได้รับความนิยมมากขึ้นที่ญี่ปุ่น จนถึงขนาดมีการจัดประกวดคอสเพลย์อีกด้วย ซึ่งทำให้กิจกรรมคอสเพลย์นั้นเป็นที่แพร่หลายกันมากขึ้นที่นั่น
ยุครุ่งเรือง
กลางยุค 80 กิจกรรมคอสเพลย์ก็เติบโตขึ้น และมากกว่าช่วงยุค 70 เป็นเท่าตัว จนร้านที่รับตัดชุดคอสเพลย์ที่มีชื่อเสียงและราคาสูง ก็ต้องรับงานตัดชุดจากเรื่องเดียวกัน ชุดเหมือนกันเป็นร้อยกว่าคน แถมมีลูกค้าเข้ามาไม่ขาดสายจนทำให้เนื้อผ้าบางชนิดขาดตลาดก่อนถึงวันงานจริงๆ
จุดแตกหัก
มียุครุ่งเรืองแล้ว มันก็ต้องมีจุดแตกหัก แทบไม่น่าเชื่อว่า วงการคอสเพลย์ของญี่ปุ่นนั้นมีช่วงนั้นด้วย โดยเรื่องของเรื่องก็คือ ช่วงปี 1991-1994 ที่นั่นก็เริ่มมีกระแสต่อต้านและห้ามการแต่งคอสเพลย์ในงานการ์ตูนบางงาน เนื่องจากช่วงนั้น กระแสการ์ตูนแนวbishoujo(สาวน้อย) เริ่มมาแรง โดยเฉพาะ เซเลอร์มูน และ การ์ตูนโดจินชิ ที่นำเรื่องนี้มายำเป็นการ์ตูนติดเรท ทำให้นักคอสเพลย์บางคนเปลี่ยนมาแต่งเป็นตัวการ์ตูนที่ฮิตในช่วงนั้นแทน ส่วนผู้หญิงก็เริ่มมีการแต่งคอสเพลย์แบบโชว์สัดส่วน ล่อแหลมมากขึ้น จึงเกิดภาพลบเกี่ยวกับคอสเพลย์ ไม่ใช่แค่นั้น ยังรวมถึงการโปรโมทการ์ตูนโดจินชิของผู้แต่งด้วยการให้ผู้หญิงมาแต่งตัวตามตัวละครที่นุ่งน้อยห่มน้อย ก็ส่งผลให้เกิดภาพลบของกิจกรรมคอสเพลย์ขึ้นไปอีก
ถึงช่วงนั้นกิจกรรมคอสเพลย์จะถูกมองในแง่ลบมาก แต่ก็ไม่สามารถห้ามไม่ให้มีการทำกิจกรรมนี้ได้ เหตุผลหลักๆก็เป็นเพราะ กิจกรรมนี้ มันเป็นแค่สิทธิส่วนบุคคล พวกเขามีสิทธิที่จะแต่งตัวเป็นใครก็ได้ตามที่พวกเขาต้องการ ตามที่พวกเขาพอใจ และเป็นการแสดงออกถึงตัวตนที่แท้จริงของผู้แต่ง ดังนั้น กิจกรรมการแต่งคอสเพลย์นั้น ก็เริ่มมีการตกลงกันระหว่างผู้จัดกับผู้แต่ง โดยอนุญาติให้มีการแต่งคอสเพลย์จากการ์ตูนที่ตีพิมพ์ทั่วไป ส่วนการ์ตูนโดจินชิ นั้นจะต้องไม่ล่อแหลมจนเกินไป |
ฮาเซกาว่า จิซาเมะ หรือ ชิอุจัง จากเรื่อง เนกิมะ
ก็เป็นตัวการ์ตูนตัวหนึ่งที่หลงรักการคอสเพลย์เข้าสายเลือด |
คอสเพลย์ในปัจจุบันและอนาคต
ความนิยมของการ์ตูนคอมิค กับ อนิเมชั่น ซึ่งมีอิทธิพลสูงต่อกลุ่มคนรักการ์ตูน ทำให้กิจกรรมนี้ก็ยังคงได้รับความนิยมมิเสื่อมคลาย ไม่เพียงแค่การแต่งกายเลียนแบบตัวการ์ตูนเท่านั้น ยังรวมถึงการนิยมแต่งกายเลียนแบบ ศิลปิน ดาราดังยอดนิยม นักร้องเจป๊อป-ร็อค ต่างๆ
|
ซึ่งการที่คนจะแต่งกายเลียนแบบตัวอะไรนั้นก็ขึ้นกับความนิยมของการ์ตูน หรือ บุคคล เหล่านั้น เห็นได้ชัดก็คือ ในยุคแรกเริ่ม จะนิยมแต่งเลียนแบบพวกอุลตร้าแมน ไอ้มดแดง พอหนังการ์ตูนแนวสงครามอวกาศ หรือ พวกซูเปอร์โรบ็อต เช่น กันดั้ม ได้รับความนิยม ผู้คนก็หันไปแต่งเลียนแบบตัวละครอย่าง อามูโร่ เรย์ ชาร์ อัสนาเบิ้ล เป็นต้น หรือ ในปัจจุบัน ที่การ์ตูนแนวการต่อสู้ลูกผู้ชาย หรือ การ์ตูนแนวสาวน้อย ได้รับความนิยม การแต่งคอสเพลย์ก์มีความหลากหลายมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ การแต่งเลียนแบบตัวละครที่มาจากเกมส์เป็นต้น
จากการที่ปัจจุบันนี้ การ์ตูนญี่ปุ่นได้รับความนิยมไปยังทุกมุมโลก ก็มีผลทำให้ชาวต่างชาติ ไม่ใช่แค่บ้านเรา ก็นิยมการแต่งคอสเพลย์ ด้วยเช่นกัน (อาจยกเว้นสำหรับบางชนชาติที่มีข้อจำกัดด้านศาสนา) และมีแนวโน้มว่าจะมีคนแต่งคอสเพลย์เลียนแบบมากขึ้นทุกปีจนแทบ
จะกลายเป็นวัฒนธรรมประจำตัวของคนการ์ตูนทั่วโลกไปแล้ว |
เดี๋ยวนี้ขนาดฝรั่ง
ก็ยังชอบแต่งคอสเพลย์เลย
www.bioweapons.com
|
แคทตาล็อกเสื้อผ้าและ
อุปกรณ์แต่งคอสเพลย์
ของwww.cospa.com
|
Tip:อุปกรณ์การแต่งคอสเพลย์
หลักๆก็ต้องเป็นเสื้อผ้า ซึ่งร้านขายของทั่วไปที่ญี่ปุ่นก็จำหน่ายชุดสำเร็จรูป ซึ่งมีราคาแพงกว่า ไปจ้างเขาตัดชุดให้เสียอีก ถ้าคุณมีความสามารถในการเย็บปักถักร้อย ก็เย็บเอาเองเลย ไม่ต้องเสียตังค์ค่าตัดเย็บ ส่วนอุปกรณ์เสริม อย่างอื่น เช่น ดาบ หรือ คฑา เราสามารถทำขึ้นมาเองก็ได้ ถ้าคิดว่าตัวเองมีความคิดสร้างสรรค์พอ
ทั้งหมดก็คือเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับคอสเพลย์ ถึงการแต่งคอสเพลย์ในบ้านเรานั้นก็ได้รับความนิยมมากขึ้นก็จริง แต่ก็ยังมีกลุ่มคนนอกที่ยังคงมองว่า กิจกรรมคอสเพลย์นั้น ไร้สาระ เสียเงินโดยใช่เหตุ อยู่ แต่เราไม่อาจปฏิเสธ กลุ่มคนกลุ่มนั้น ไม่ให้แต่งคอสเพลย์กัน ก็เพราะว่า กิจกรรมนี้เป็นสิทธิส่วนบุคคล ที่จะการแสดงออกถึงความเป็นตัวของตัวเอง(คล้ายๆกับพวกเด็กแนวนะแหละ)
ขอแค่แต่งให้ตนเองพอใจ และ สนุกสนานไปกับมันมากที่สุดก็เพียงพอแล้ว
|
|
ตัวอย่างการครีเอทของคนแต่งคอสเพลย์ผู้นี้
จนนำไปสู่รางวัลชนะเลิศในการประกวด
(แต่งตัวเลียนแบบตัวละครตัวหนึ่งใน
อภัยมาณีซาก้า การ์ตูนฝีมือคนไทยในนิตยสารบูม) |
|
|
|
|
|
อ้างอิงจาก |
นิตยสาร Comic Quest ฉบับที่13 คอลัมน์ The Way of Manga |
|